目次
เพราะว่าอุตส่าห์มีโอกาสได้ออกเที่ยว ดูเหมือนว่าหลายคนไปเที่ยวเกียวโต, นารา หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่อื่น ๆ แล้วกลับ ในตอนนั้นโดยทั่วไปก็จะเป็นการเดินเท้ามา คนที่ใช้เวลาเดินทางยาว ๆ ที่เคยได้ยินมาใช้เวลาประมาณ XNUMX เดือน ในการเดินทางก็จำเป็นต้องใช้เงิน ชาวบ้านจึงร่วมกันจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า “อิเสะโก (Isekou)” เพื่อเก็บสะสมเงินแล้วส่งตัวแทนไปนมัสการศาลเจ้าทุกปี ซึ่งตัวแทนที่ไปนมัสการจะเข้ารับการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากจิตใจและร่างกายในส่วนของสมาชิกองค์กรทุกคนแทนให้ด้วยก่อนเดินทางกลับ และผู้ที่สืบสานระบบการเดินทางลักษณะแบบนี้ก็คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เปรียบเหมือนคนแนะนำศาลเจ้าให้กับผู้ที่มาเยือนอิเสะ มีชื่อเรียกว่า องชิแห่งอิเสะ ออกเดินทางไปทั่วประเทศ นำแผ่นป้ายเครื่องรางและปฏิทินไปแจก แล้วรับค่าธรรมเนียมการทำพิธีกรรมของศาลเจ้า และเมื่อตัวแทนขององค์กรนั้นมานมัสการอิเสะ ก็จะให้พวกเขาพักที่บ้านของตนเองและดูแลต้อนรับอย่างดี เมื่อการมานมัสการอิเสะกลายเป็นที่นิยม มีบางคนละทิ้งงานมานมัสการศาลเจ้าอิเสะ ในสมัยนั้นการละทิ้งงานมานมัสการศาลเจ้าจะได้รับการให้อภัย การช่วยเหลือนักเดินทางที่ไม่มีเงิน (ให้สิ่งของต่าง ๆ) ถือเป็นการสะสมบุญด้วย จึงมีการช่วยเหลือกันอย่างแข็งขันระหว่างทาง น่าจะเป็นยุคสมัยที่เดินทางได้ง่าย ใจกว้างเป็นอย่างยิ่ง
ฟุตามิ (Futami) → ศาลเจ้าอิเสะชั้นนอก (โทโยอุเกะไดจิงกู) (Ise Jingu / Geku (Toyoukedaijingu)) → ศาลเจ้าอิเสะชั้นใน (โคไตจิงกู) (Ise Jingu Naiku (Kotai Jingu) ) → อาซามะดาเกะ (Asamadake)
ฟุตามิเป็นพื้นที่ยอดนิยมที่มีศาลเจ้าฟุตามิโอคิทามะ และหินคู่รักเมโอโตะอิวะ ซึ่งประกอบด้วยหินขนาดใหญ่และขนาดเล็ก XNUMX ก้อนที่มีเชือกศักดิ์สิทธิ์คล้องหินทั้งสอง
ในสมัยก่อน การอาบน้ำเพื่อขจัดบาปและสิ่งสกปรกชำระตัวเองให้บริสุทธิ์นั้นจะทำด้วยการอาบน้ำทะเล แต่ในยุคปัจจุบัน การไปนมัสการศาลเจ้าฟุตามิโอคิทามะก็คือว่าเป็นการขจัดบาปและชำระจิตใจให้สะอาดได้แล้ว
เทพเจ้าที่สถิตอยู่คือ เทพเจ้าซารุตาฮิโกะ (Sarutahiko no Okami) ที่ศาลเจ้าฟุตามิโอคิทามะ สามารถเข้ารับพิธีกรรมการปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย สิ่งสกปรกในจิตใจและร่างกายด้วยอุปกรณ์ประกอบพิธีปัดเป่าที่ทำจากสาหร่ายที่เก็บได้จากรอบ ๆ หินเทพเจ้าโอคิทามะ ซึ่งเป็นสาหร่ายที่ไม่มีสิ่งสกปรกเกาะติด เรียกพิธีกรรมนี้ว่า “มูกูชิโอะ ฮาไร” เมื่อได้ทำพิธีกรรมปัดเป่านี้แล้ว อาจจะมีความรู้สึกที่อยากจะไปนมัสการต่ออีกก็เป็นได้
เทพเจ้าที่สถิตอยู่คือ เทพเจ้าโทโยอุเกะ (Toyouke no Okami) เทพเจ้าแห่งอาหารและอุตสาหกรรม
หลังจากนมัสการศาลเจ้าหลักแล้ว อย่าลืมไปนมัสการศาลเจ้าทากะโนะมิยะ ศาลเจ้าสึจิโนะมิยะ และศาลเจ้าคาเซะโนะมิยะ ในเขตพื้นที่ยังมีศาลเจ้าโชกังด้วย หากมีเวลาอยากให้เข้าไปนมัสการด้วย
ในปัจจุบันการเดินทางจากศาลเจ้าชั้นนอกไปยังศาลเจ้าชั้นใน จะใช้ถนนมิยูกิและถนนมิกิโมโตะ เป็นถนนที่กว้าง แต่ในสมัยเอโดะมีเพียง “ถนนฟุรุอิจิ (Furuichi Kaido)” เท่านั้น ผู้คนในสมัยนั้นใช้ถนนฟุรุอิจิเพื่อเดินทางไปยังศาลเจ้าชั้นใน ที่ถนนเลียบสันเขาหรือที่เรียกกันว่า “ไอโนะยามะ” เป็นหนึ่งใน XNUMX ย่านโคมแดงของยุคเอโดะ และยังเป็นแหล่งถ่ายทอดวัฒนธรรมต่าง ๆ อย่างเช่น ฟุรุอิจิคาบูกิ และเพลงพื้นบ้านของอิเสะ
ถึงแม้ว่าจะมีเพียง “อาซากิจิ เรียวกัง (Asakichi Ryokan)” ซึ่งเป็นโรงน้ำชาในสมัยนั้นที่ยังคงหลงเหลือเค้าโครงของยุคนั้นอยู่ แต่ข้อความแกะสลักบนอนุสาวรีย์หินก็สื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองของยุคนั้น
เทพเจ้าที่สถิตอยู่คือเทพเจ้าอามาเตราซุ (Amaterasu Omikami) ซึ่งถือว่าเป็นเทพเจ้าที่อาศัยอยู่ร่วมกับประชาชนในพื้นที่
หลังจากนมัสการศาลเจ้าหลักแล้ว อย่าลืมไปนมัสการศาลเจ้าอารามัตสึริโนะมิยะ และศาลเจ้าคาซาฮิโนะมิโนะมิยะ ศาลเจ้าอิเสะ / ศาลเจ้าชั้นใน (โคไตจิงกู) เมื่อเปรียบเทียบกับศาลเจ้าอิเสะ / ศาลเจ้าชั้นนอก (โทโยอุเกะ ไดจิงกู) แล้วจะมีศาลเจ้าโชกังมากกว่า หากมีเวลาอยากให้แวะนมัสการ
กล่าวกันว่าเป็นวัดที่ปกป้องประตูปีศาจของศาลเจ้าอิเสะ ตำหนักใหญ่เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ของประเทศ โกฮนซงเป็นหนึ่งในสามพระโพธิสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น
หลังจากเยี่ยมชมตำหนักใหญ่แล้ว ให้มุ่งหน้าไปยังวัดโอคุโนะอิน (Okunoin) ท้องถิ่นอิเสะ มีธรรมเนียมอย่างหนึ่งเรียกว่า “ทาเกะไมริ” ใช้ไม้แปรรูปทำเป็นสถูปไม้เพื่อเป็นการไว้อาลัยต่อผู้ล่วงลับ
สองข้างทางเดินไปวัดโอคุโนะอิน จะมีสถูปไม้ขนาด XNUMX - XNUMX เมตรตั้งอยู่เรียงรายเป็นภาพทิวทัศน์ที่หายากในญี่ปุ่น
เทะมิซึยะ (Temizuya, Chouzuya) คือ “สถานที่ (การทำพิธีกรรมมิโสะงิ) ชำระจิตใจและร่างกายให้บริสุทธิ์” การล้างมือและล้างปากจึงเป็นการทำพิธีกรรมมิโสะงิอย่างง่าย
XNUMX. ขั้นแรก ให้ถือกระบวยด้วยมือขวาและล้างมือซ้าย XNUMX. เปลี่ยนมาถือกระบวยด้วยมือซ้าย แล้วล้างทำความสะอาดมือขวา XNUMX. ถือกระบวยด้วยมือขวาอีกครั้ง เทน้ำใส่ในอุ้งมือซ้ายแล้วบ้วนปาก XNUMX. ล้างมือซ้ายให้สะอาดอีกครั้ง XNUMX. ขั้นสุดท้าย ใช้น้ำที่เหลือในกระบวยทำความสะอาดที่จับกระบวย แล้วเอากระบวยวางคืนตำแหน่งเดิม
วิธีการนมัสการแบบปกติทั่วไปคือ คำนับ XNUMX ครั้ง ปรบมือ XNUMX ครั้ง และคำนับ XNUMX ครั้ง XNUMX. ยืนในท่าทางที่ถูกต้องต่อหน้าเทพเจ้า XNUMX. โค้งคำนับแบบหลังตรงราบ XNUMX. พนมมือที่ระดับหน้าอก ให้ปลายนิ้วมือขวาอยู่ต่ำกว่านิ้วมือซ้ายเล็กน้อย XNUMX.กางมือออกให้กว้างเท่าไหล่ แล้ว “ปรบมือ” XNUMX ครั้ง XNUMX. นำปลายนิ้วกลับมาในตำแหน่งเดิมและโค้งคำนับอีกครั้งด้วย “ความรู้สึกขอบคุณ”